วันศุกร์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2558

Diary Note 30 November 2015

Diary Note No.11

ในสัปดาห์ที่แล้วอาจารย์ให้การบ้านกลับไปทำ แล้วนำมาเสนอในวันนี้


 นี่คือผลงานก่อนที่จะระบายสีค่ะ สวยงามมาก



และนี่ก็คือภาพที่เสร็จสมบูรณ์แล้วค่ะ เอารูปที่วาดทางด้านซ้ายไปใส่ในตัวหอยทาก

ทำท่าบริหารสมอง
  1. นวดไหปลาร้า
  2. นวดขมับ
  3. นวดหู
  4. มือซ้ายหูขวา มือขวาหูซ้าย
  5. มือซ้ายแตะจมูก มือขวาจับติ่งหู
  6. มือซ้ายจีบ มือขวาแอล
  7. นับ 1-10
  8. ลูบและทุบ
  9. ผสานนิ้วผ่อนคลาย
อาจารย์แจกของรางวัลให้กับคนที่ได้ดาวเด็กดีเยอะที่สุด  


แทนแท้นนนน !! รางวัลเด็กดี ดิฉันเป็นคนได้เอง ได้ดาวทั้งหมด 17 ดวง นี่เป็นครั้งแรกของดิฉันที่ได้รางวัลนี้ รู้สึกดีใจมากๆ เลยค่ะ สมุดที่อาจารย์ให้ หนูนำไปใช้ประโยชน์อย่างแน่นอน
ทบทวนความรู้เดิมที่เคยเรียนมา

 
 คาบนี้เป็นคาบสุดท้ายของวิชานี้ อาจารย์ได้ทบทวนความรู้ต่างๆ ที่ได้เรียนมาให้นักศึกษาได้ฟัง


ความรู้ที่ได้รับ
  • ได้ รับความรู้เกี่ยวกับท่าบริหารสมอง ที่สามารถทำให้สมองผ่อนคลาย และถ้าทำก่อนอ่านหนังสือก็จะทำให้เรามีความจำที่ดี
 ประเมินเพื่อนร่วมห้อง
  • เพื่อนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม ตั้งใจเรียน มีความพร้อมในการเรียน
 ประเมินอาจารย์ 
  • อาจารย์แต่งกายเรียบร้อย สุภาพ เป็นตัวอย่างที่ดีแก่นักศึกษา

วันอาทิตย์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

Diary Note 16 November 2015

Diary Note No.10

เนื้อหาที่เรียน

ศิลปะสร้างสรรค์

พัฒนาการทางศิลปะ (Lowenfeld and Britain)

ความหมาย

  • เป็นเครื่องมือที่ให้เด็กแสดงความรู้สึก ความต้องการออกมาผ่านผลงาน
  • การวาด การปั้น การประดิษฐ์ การตัด การฉีก การปะ การพับ
ขั้นขีดเขียน (Scribbling Stage)
  • 2-4 ปี
  • ความสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา
ความสำคัญและประโยชน์ของศิลปะสร้างสรรค์
  • เด็กได้แสดงความรู้สึก ความคิด ความสามารถ
  • ตอบสนองธรรมชาติและความต้องการของเด็ก
  • บำบัดอารมณ์
  • ฝึกทักษะการทำงานของอวัยวะต่างๆ
  • แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการของเด็ก
ขั้นก่อนมีแบบแผน (Preschemalic Stage)
  • 4-7 ปี
  • ภาพมีความสัมพันธ์กับความจริง
ขั้นใช้สัญลักษณ์ (Schemalic Stage)
  • 7-9 ปี
  • คล้ายของจริง
หลักการจัดประสบการณ์ศิลปะ
  • กระบวนการสำคัญกว่าผลงาน
  • หลีกเลี่ยงการวาดภาพตามแบบ การระบายสีจากสมุดภาพ
  • ชื่นชมม
  • เตรียมอุปกรณ์
  • ศิลปะสำคัญเช่นเดียวกับการเขียนอ่าน
  • หลีกเลี่ยงคำถาม "กำลังทำอะไร" หรือ "เดาสิ่งที่เด็กทำ"
กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์
  • กิจกรรมสี
  • การปั้น
  • การตัดปะ
  • การพับ 
  • การประดิษฐ
 อาจารย์ได้สั่งการบ้านให้นักศึกษากลับไปทำที่บ้าน แล้วนำมาส่งในสัปดาห์หน้า

 
ความรู้ที่ได้รับ
  • ได้รับความรู้เกี่ยวกับศิลปะสร้างสรรค์ พัฒนาการทางศิลปะ ความหมายและความสำคัญของศิลปะสร้างสรรค์ อีกทั้งยังได้ความรู้เกี่ยวกับหลักการจัดประสบการณ์ศิลปะอีกด้วย
 ประเมินเพื่อนร่วมห้อง
  • เพื่อนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม ตั้งใจเรียน มีความพร้อมในการเรียน
 ประเมินอาจารย์ 
  • อาจารย์มีเทคนิคการสอนที่หลากหลาย แต่งกายเรียบร้อยเป็นตัวอย่างที่ดีแก่นักศึกษา

Diary Note 9 November 2015

Diary Note No.9
เนื้อหาที่เรียน
สอบเขียนกระดาน โดยกลุ่มเรามีเนื้อหาดังนี้
นิทานเรื่อง โรงเรียนของฉัน
ผู้แต่ง  คุณครูและเด็กๆอนุบาล 3

     โรงเรียนของเราน่าอยู่
     ที่โรงเรียนมีคุณครูใจดี
มีเพื่อนๆมากมายที่โรงเรียน
หนูชอบไปวิ่งเล่นในโรงเรียน
พวกเราทุกคนชอบไปโรงเรียน
ประโยคที่ดิฉันเขียนคือ โรงเรียนของเราน่าอยู่


ระหว่างเขียนก็ต้องมีการถามเด็กๆ อยู่เสมอ เผื่อดึงให้เด็กอยู่ในเรื่องที่เราสอน

แบ่งกลุ่ม 5-6 คน ทำกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
     กลุ่มเราได้หน่วย ต้นไม้
ขั้นนำ
  • ให้เด็กหาบริเวณพื้นที่เฉพาะตัว
  • ให้เด็กเคลื่อนไหวตามจังหวะ เมื่อได้ยินสัญญาณหยุดให้หยุดทันที
ขั้นกิจกรรมสัมพันธ์เนื้อหา
  • จากนั้นให้เด็กเคลื่อนไหวตามจังหวะ พร้อมปฏิบัติตามคำสั่งดังนี้
         - แบ่งกลุ่ม 2 คน ให้เด็กสมมติตัวเองเป็นต้นไม้ มีลำต้น และกิ่ง
         - แบ่งกลุ่ม 5 คน ให้เด็กสมมติตัวเองเป็นต้นไม้ มีลำต้น กิ่ง และ ใบ
         - แบ่งกลุ่ม 8 คน ให้เด็กสมมติตัวเองเป็นป่าขนาดใหญ่
ขั้นกิจกรรมพักคลายกล้ามเนื้อ
  • ให้เด็กหาบริเวณพื้นที่เฉพาะตัว นั่งหรือนอนในท่าที่ผ่อนคลายกล้ามเนื้ออย่างอิสระ 
 ความรู้ที่ได้รับ
  • ได้เทคนิคการเขียนกระดานที่ถูกต้อง รวมไปถึงเทคนิคการสอนกิจกรรมเคลื่อนไหว
 ประเมินเพื่อนร่วมห้อง
  • เพื่อนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม ตั้งใจเรียน
 ประเมินอาจารย์ 
  • อาจารย์มีเทคนิคการสอนที่หลากหลาย และทุกกิจกรรมสามารถนำไปใช้ได้จริงเวลาที่เราไปฝึกสอน หรือไปเป็นครู

Diary Note 2 November 2015

Diary Note No.8

เนื้อหาที่เรียน

ร้องเพลงใหม่ Where is Thumbkin?

Where is Thumbkin?
Where is Thumbkin?
Here I am! Here I am!

*How are you today, sir?
Very well, I thank you
Run away. Run away.

Where is Pointer?
Where is Pointer?
Here I am! Here I am!
(*)

Where is Middleman?
Where is Middleman?
Here I am! Here I am!
(*)

Where is Ringman?
Where is Ringman?
Here I am! Here I am!
(*)

Where is Pinkie?
Where is Pinkie?
Here I am! Here I am!
(*)

นิทานสร้างสรรค์ ครูและนักศึกษาช่วยกันแต่งนิทาน หน่วยเรื่อง "ทะเล"

ขั้นนำ
  1. ร้องเพลงเก็บเด็ก หรือ พูดคุย
  2. ตั้งชื่อเรื่อง "ทะเลแสนงาม"
แบ่งกลุ่มฝึกเขียนกระดาน

คิดเรื่องที่จะใช้สอบสอนในสัปดาห์หน้า

 ความรู้ที่ได้รับ
  • ได้รับความรู้ในเรื่องของการเขียนกระดาน รวมไปถึงเทคนิคการสอนอีกด้วย
 ประเมินเพื่อนร่วมห้อง
  • เพื่อนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม ตั้งใจเรียน มีความพร้อมในการเรียนที่ดี
 ประเมินอาจารย์ 
  • อาจารย์มีการนำเพลงต่างๆ มาให้เด็กได้ร้อง มีเทคนิคการสอนที่หลากหลาย สามารถนำไปใช้ได้ในชีวิตจริง

วันอาทิตย์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

Diary Note 26 October 2015

Diary Note No.7

เนื้อหาที่เรียน

อาจารย์แจกสีให้แก่นักศึกษาคนละ 1 กล่อง

กิจกรรมประดิษฐ์ไม้กายสิทธิ์




ลงมือทำแล้วค่ะ สำหรับไม้กายสิทธิ์ เพื่อนๆ มีความตั้งใจทำกันมาก


เสร็จแล้วค่ะ สำหรับไม้กายสิทธิ์ของหนู หนูออกแบบเป็นเจ้าหญิงค่ะ


ไม้กายสิทธิ์ มีเจ้าหญิงแล้ว ก็ต้องมีเจ้าชายด้วย หนูทำคู่กับแฝดของหนูเองค่ะ


อันนี้คือผลงานของนักศึกษาทั้งห้องค่ะ สวยๆ กันทั้งนั้นเลย



 ความรู้ที่ได้รับ
  • ได้รับความรู้ในเรื่องของการทำไม้กายสิทธิ์
 ประเมินเพื่อนร่วมห้อง
  • เพื่อนมีความพร้อมในการเรียน ออกแบบไม้กายสิทธิ์กันได้อย่างสวยงาม และ ตั้งใจทำไม้กายสิทธิ์อย่างตั้งใจ
 ประเมินอาจารย์ 
  • อาจารย์เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์อย่างเต็มที่ ในการทำไม้กายสิทธิ์                            

Diary Note 19 October 2015

Diary Note No.6

เนื้อหาที่เรียน

กิจกรรมฟังเสียงเครื่องดนตรี

  1. ไวโอลิน
  2. แซ็กโซโฟน
  3. เม้าท์ออกแกน
  4. ฉาบ
  5. ทอมโบน
  6. กีต้าร์
  7. (จำไม่ได้ว่าเป็นเครื่องอะไร)
  8. เปียโน
  9. แตร
  10. ฟรุ๊ต
  11. นิ้งหน่อง
  12. ทรัมเป็ต
  13. กลองชุด
  14. เชลโล
  15. ปี่สก็อต
กิจกรรมฟังเสียงสัตว์
  1. สุนัข
  2. แมว
  3. หมู
  4. วัว
  5. ไก่ตัวผู้
  6. ม้า
  7. ไก่ตัวเมีย
  8. ลา
  9. แพะ
  10. เป็ด
  11. นก
กิจกรรมส่งสาร

แรดอย่างสงบ ตบเมื่อจำเป็น ตอแหลอย่างเยือกเย็น เพราะเราเป็นไฮโซ

กิจกรรมส่งสารโดยแบ่งกลุ่ม 5 คน

กิจกรรมแต่งคำคล้องจอง

อะไรเอ๋ยรูปร่างเล็ก  ไม่ถูกสเป็คกับแมวตัวใหญ่
ส่งเสียงจี๊ดๆ มีอยู่ทั่วไป  สีดำนั้นไซร้ลองทายดู

 เฉลย หนู

อะไรเอ๋ยมีหลายขนาด  เจ้าหนูชอบพลาดโดนจับกิน
เมื่อเป็นปลาทูมันทำหน้าฟฟิน  เหมียวเหมียวจะกินลองทายดู

เฉลย แมว
 ความรู้ที่ได้รับ
  • ได้รับความรู้ในการแต่งคำคล้องจอง เทคนิคในการแต่งคำคล้องจอง
 ประเมินเพื่อนร่วมห้อง
  • เพื่อนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม ตั้งใจเรียน มีความพร้อมในการเรียนที่ดี เข้าเรียนตรงเวลา
 ประเมินอาจารย์ 
  • อาจารย์มีเทคนิคการสอนที่หลากหลาย มีกิจกรรมให้เด็กทำก่อนเข้าเรียน เช่น เกม คำถามเป็นต้น อีกทั้ง อาจารย์เปิดโอกาสให้เด็กมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมอย่างเต็มที่      

วันพุธที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2558

Diary Note 5 October 2015

Diary Note No. 5

เนื้อหาที่เรียน

ทำกิจกรรมนักมายากลระดับโลก โดยมีคำถาม ถามนักศึกษาดังนี้

  1. เมื่อเราอยู่หลังเวที และกำลังแสดงโชว์ ตอนนั้นเรารู้สึกอย่างไร
  2. เมื่อเรากำลังโชว์มายากล และเรียกผู้ชมมามีส่วนร่วม เราจะเลือกใคร
  3. ถ้าเพื่อนจับผิดได้จะกระซิบบอกเพื่อนว่า
  4. กลับมาเข้าหลังม่าน หลังแสดงเสร็จ แล้วมองย้อนกลับไป เรารู้สึกอย่างไร
เฉลยกิจกรรมนักมายากลระดับโลก
  1. เรารู้สึกอย่างไรเวลาจะโกหก
  2. คนที่เลือกมาคือคนที่หลอกง่าย
  3. โกหกและโดนจับได้
  4. ความรู้สึกหลังจากโกหก

การเล่นเพื่อสิ่งเสริมความคิดสร้างสรรค์

การเล่น
  • กระบวนการเรียนรู้ และประสบการณ์ที่เด็กได้รับ
  • ทำให้เด็กเกิดความสนุกสนานเพลินเพลิน ผ่อนคลาย
  • ปรับตัวให้เข้ากับเพื่อนและสิ่งแวดล้อม                                                                                         
แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการเล่น  
Piaget 
     กล่าวถึงพัฒนกาารเล่นของเด็กมี 3 ขั้นดังนี้
  1. ขั้นการเล่นโดยใช้ประสาทสัมผัส (Sensorimotor Play)      เช่น การหยิบจับ สำรวจ ซึ่งจะยตุลงเมื่อเด็ก 2 ขวบ
  2. ขั้นการเล่นสร้างสรรค์ (Constructive Play)      อายุ 1ปีครึ่ง-2ปี การเล่นไม่มีขอบเขต เล่นด้วยความพอใจมากกว่าคำนึงถึงความเป็นจริง จะยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง เล่นคนเดียวต่างคนต่างเล่น
  • ขั้นการเล่นที่ใช้สัญลักษณ์ (Symbolic Play)
           
    อายุ 2 ขวบขึ้นไป สามารถพัฒนาการเต็มที่เมื่ออายุ 3-4 ขวบ เกิดขึ้นเมื่อเด็กสามารถจำและสมมติสิ่งของเครื่องเล่นต่าง ๆ ที่ไม่มีอยู่ที่นั่น ลักษณะการเล่นที่ใช้สัญลักษณ์ที่นับว่าเป็นพัฒนาการสูงสุดคือการเล่นบทบาท สมมติ
                                                                              
ประเภทของเล่นเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสร้างสรรค์
  • การเล่นกลางแจ้ง
  • การเล่นในร่ม
 การเล่นในร่ม   
  • การเล่นตามมุมประสบการณ์
  • การเล่นสรรค์สร้าง      
 การเล่นสรรค์สร้าง
  •  การเล่นที่ให้โอกาสเด็กคิดค้นวิธีเล่นอย่างอิสระ และเล่นได้หลายวิธี
  • ใช้ความคิดพลิกแพลงวิธีเล่นให้แตกต่างไปจากเดิม
  • เด็กเกิดความรู้ความเข้าใจด้วยตนเอง
องค์ประกอบของการเล่นสรรค์สร้าง
  1.  สภาวะการเรียนรู้
  2.  พัฒนาการของการรู้คิด
  3. กระบวนการเรียนและกระบวนการสอน
กระบวนการจัดประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้
  • เปลี่ยนแปลงโดยไม่ต้องสับเปลี่ยน
  • การเรียนรู้เกี่ยวกับตรงเวลา
  • การจำแนกอย่างมีเหตุผล
 หลักการจัดกิจกรรมการเล่นสรรค์สร้าง    
  • ศึกษาสภาพของเด็กและกำหนดขอบข่ายความสามารถของเด็ก
  • ศึกษาสภาพแวดล้อม จัดเตรียมสื่อและกิจกรรมให้เหมาะสม
  • มีส่วนร่วมกับเด็กในจังหวะเวลาที่เหมาะสม
รูปแบบการสอนแบบ STEM
  • S = Science
  • T = Technology
  • E = Engineering
  • M = Mathematics 
อาจารย์ให้แบ่งกลุ่ม 3 คน ทำกิจกรรมนักออกแบบอาคาร โดยมีอุปกรณ์ดังนี้
  1. ไม้จิ้มฟัน
  2. ดินน้ำมัน
 ความสูงที่ทำได้ 
  • ครั้งที่ 1 29 เซนติเมตร
  • ครั้งที่ 2 47 เซนติเมตร
  • ครั้งที่ 3 48 เซนติเมตร
ทำกิจกรรมเรือน้อยบรรทุกของ โดยมีอุปกรณ์ดังนี้
  1. กระดาษ 1 แผ่น
  2. ไม้เสียบลูกชิ้น 4 ไม้
     อาจารย์ให้สร้างเรือ 1 ลำ จากนั้น ให้นำมาลอยน้ำแล้วบรรทุกของ เรือกลุ่มใดลอยน้ำได้นาน และบรรทุกของได้ทุกชิ้น กลุ่มนั้นชนะ

ความรู้ที่ได้รับ
  • ได้รับความรู้ในเรื่องของการเล่นเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์  รู้ทฤษฎีของเพียเจย์ ว่ามีการพัฒนาการเล่นของเด็กมีกี่ขั้น  รวมไปถึงเรื่องของ องค์ประกอบการเล่นสรรค์สร้าง และ กระบวนการจัดประสบการณ์เพื่อนการสอน และ การเรียนรู้ 
 ประเมินเพื่อนร่วมห้อง
  • เพื่อนมาตรงต่อเวลา ตั้งใจเรียนและทำกิจกรรมอย่างสนุกสนาน
 ประเมินอาจารย์ 
  • อาจารย์เด็กกายสุภาพเรียบร้อย มีเกมสนุกๆ มาให้นักศึกษาได้เล่นก่อนทำกิจกรรม อีกทั้ง อาจารย์ยังมีเทคนิคการสอนที่หลากหลาย